 |
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ("ไทยเบฟ") ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ
เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ("SGX") ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร
เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า
เพิ่มประสิทธิผลในช่องทางการขนส่งรวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ
ปัจจุบันไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย
แต่ยังเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4
สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร
วิสัยทัศน์องค์กร
การเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มระดับแนวหน้าโดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศเชิงพาณิชย์
ความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม
และความเป็นมืออาชีพ
พันธกิจของเรา คือ การประสาน "สัมพันธภาพ"
กับผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญกับบริษัทในทุกๆ ด้าน โดยมอบคุณค่าที่สำคัญ 6
ประการ
|
• มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้ลูกค้าทุกกลุ่ม
• ตอบสนองความต้องการของผู้แทนจำหน่ายโดยให้บริการอย่างมืออาชีพ
• ให้ความสำคัญเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น
ด้วยการเติบโตของรายได้และผลกำไรที่มั่นคงและต่อเนื่อง• เป็นแบบอย่างในด้านความเป็นมืออาชีพ
ความโปร่งใส และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล
• มอบความไว้วางใจ อำนาจ และรางวัลแก่พนักงาน
เพื่อสร้างความร่วมรับผิดชอบ และ
• สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม
ระบบงานแต่ละฝ่าย
ฝ่ายขาย
หน้าที่ของฝ่ายขาย
ฝ่ายขายมีหน้าที่ในการจัดทำกลยุทธ์การขายและแผนการจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มของสินค้า
ทำการบริหารการขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน
รวมทั้งจัดหาและบริหารเจ้าหน้าที่การตลาด
ทำการติดต่อประสานงานและดำเนินความสัมพันธ์กับคู่ธุรกิจ
นอกจากนี้ยังต้องร่วมในการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์โดยรวมของบริษัทด้วย
โครงสร้างฐานข้อมูล
ฝ่ายบุคลากร
หน้าที่ของฝ่ายบุคลากร
มีหน้าที่ในการจัดการ
ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงาน
โครงสร้างฐานข้อมูล
ฝ่ายการคลังสินค้า
หน้าที่ของฝ่ายการคลังสินค้า
การดำเนินการวางแผนจัดหาพัสดุ
กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การจัดซื้อ/จ้าง จ้างที่ปรึกษา
จ้างออกแบบและควบคุมงาน ตรวจรับ เช่า จัดทำเอง แลกเปลี่ยน ตรวจร่างสัญญา
ควบคุมทะเบียนวัสดุและครุภัณฑ์
โครงสร้างฐานข้อมูล
การปรับระบบเข้าหากัน
วิธีการปรับระบบเข้าหากัน จากการศึกษาระบบให้เลือกตารางที่ซ้ำกันของแต่ละระบบ มาปรับให้มีรายละเอียดตรงกับความต้องการของระบบ จากระบบจะเลือกตารางสินค้า แล้วนำมาปรับใหม่ ให้เป็นชื่อฟิลล์เหมือนกัน
โครงสร้างของตารางสินค้า ในแต่ละระบบประกอบด้วยฟิลล์ต่างๆ ดังนี้
|
ยกตัวอย่าง เช่น การเพิ่มข้อมูลสินค้า จากทางฝ่ายคลังสินค้า
เมื่อมีการเพิ่มสินค้า ต้องมีการอัพเดทและเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง ตารางสินค้าของฝ่ายขาย ตารางสินค้าของฝ่ายบุคคลด้วย
การเพิ่มสินค้าของฝ่ายคลังสินค้า จะมีการใช้ข้อมูลร่วมกันจารตารางสินค้า โดยจะเป็นนการปรับปรุงระบบให้สามารถทำงานร่วมกัน โดยจะสร้างชุดคำสั่งเพื่อสั่งข้อมูลจากฝ่ายคลังสินค้า ไปยังฝ่ายขาย
แนวทางการต่อยอดหรือพัฒนาต่อในอนาคต
- เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานเพื่อหาข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ต้องเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานของระบบ
- ลดกระบวนการทำงานหรือส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ระบบทำงานได้เร็วขึ้น
- อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
- จัดเก็บข้อมูลทุกครั้งเมื่อมีการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบเพื่อลดการสูญหายของข้อมูล
- พัฒนาและอบรมความรู้ให้แก้พนักงาน
|
|