บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)
        บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ("ไทยเบฟ") ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ("SGX") ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มประสิทธิผลในช่องทางการขนส่งรวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ ปัจจุบันไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย แต่ยังเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร

  วิสัยทัศน์องค์กร
   การเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มระดับแนวหน้าโดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศเชิงพาณิชย์ ความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม
และความเป็นมืออาชีพ

พันธกิจของเรา คือ การประสาน "สัมพันธภาพ" กับผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญกับบริษัทในทุกๆ ด้าน โดยมอบคุณค่าที่สำคัญ 6 ประการ

มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้ลูกค้าทุกกลุ่ม
ตอบสนองความต้องการของผู้แทนจำหน่ายโดยให้บริการอย่างมืออาชีพ
ให้ความสำคัญเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น ด้วยการเติบโตของรายได้และผลกำไรที่มั่นคงและต่อเนื่องเป็นแบบอย่างในด้านความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล
มอบความไว้วางใจ อำนาจ และรางวัลแก่พนักงาน เพื่อสร้างความร่วมรับผิดชอบ และ
สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม



ระบบงานแต่ละฝ่าย


ฝ่ายขาย
หน้าที่ของฝ่ายขาย

ฝ่ายขายมีหน้าที่ในการจัดทำกลยุทธ์การขายและแผนการจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มของสินค้า ทำการบริหารการขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน รวมทั้งจัดหาและบริหารเจ้าหน้าที่การตลาด ทำการติดต่อประสานงานและดำเนินความสัมพันธ์กับคู่ธุรกิจ นอกจากนี้ยังต้องร่วมในการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์โดยรวมของบริษัทด้วย



โครงสร้างฐานข้อมูล






ฝ่ายบุคลากร
หน้าที่ของฝ่ายบุคลากร 

มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงาน







 โครงสร้างฐานข้อมูล









ฝ่ายการคลังสินค้า
หน้าที่ของฝ่ายการคลังสินค้า
การดำเนินการวางแผนจัดหาพัสดุ กำหนดคุณลักษณะเฉพาะ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การจัดซื้อ/จ้าง จ้างที่ปรึกษา จ้างออกแบบและควบคุมงาน ตรวจรับ เช่า จัดทำเอง แลกเปลี่ยน ตรวจร่างสัญญา ควบคุมทะเบียนวัสดุและครุภัณฑ์







 โครงสร้างฐานข้อมูล


การปรับระบบเข้าหากัน

วิธีการปรับระบบเข้าหากัน
 
    จากการศึกษาระบบให้เลือกตารางที่ซ้ำกันของแต่ละระบบ มาปรับให้มีรายละเอียดตรงกับความต้องการของระบบ จากระบบจะเลือกตารางสินค้า แล้วนำมาปรับใหม่ ให้เป็นชื่อฟิลล์เหมือนกัน 

โครงสร้างของตารางสินค้า ในแต่ละระบบประกอบด้วยฟิลล์ต่างๆ ดังนี้





ยกตัวอย่าง เช่น การเพิ่มข้อมูลสินค้า จากทางฝ่ายคลังสินค้า 
เมื่อมีการเพิ่มสินค้า ต้องมีการอัพเดทและเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง ตารางสินค้าของฝ่ายขาย ตารางสินค้าของฝ่ายบุคคลด้วย

การเพิ่มสินค้าของฝ่ายคลังสินค้า จะมีการใช้ข้อมูลร่วมกันจารตารางสินค้า โดยจะเป็นนการปรับปรุงระบบให้สามารถทำงานร่วมกัน โดยจะสร้างชุดคำสั่งเพื่อสั่งข้อมูลจากฝ่ายคลังสินค้า ไปยังฝ่ายขาย

แนวทางการต่อยอดหรือพัฒนาต่อในอนาคต


  1. เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานเพื่อหาข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ต้องเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานของระบบ
  2. ลดกระบวนการทำงานหรือส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อให้ระบบทำงานได้เร็วขึ้น
  3. อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
  4. จัดเก็บข้อมูลทุกครั้งเมื่อมีการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบเพื่อลดการสูญหายของข้อมูล
  5. พัฒนาและอบรมความรู้ให้แก้พนักงาน